ผ้าฝ้าย (cotton)
สมบัติทางกายภาพ
เส้นใยฝ้าจะมีขนาดความกว้างเท่าๆ กันหรือใกล้เคียงกัน คือจะมีความกว้างประมาณ 12-20 ไมครอน ตรงส่วนกลางของเส้นใยจะกว้างกว่าส่วนหัวและปลาย ส่วนความยาวใยฝ้ายขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ เช่น ชึ้นอยู่กับพันธุ์ฝ้าย สภาพดินฟ้าอากาศ และการเจริญเติบโต เส้นใยฝ้ายส่วนใหญ่จะยาวประมาณ 7/8 นิ้ว และขนาดที่นิยมนำมาใฃ้ในงานอุตสาหกรรมสิ่งทอคือใยฝ้ายที่ยาวประมาณ 1/2 นิ้ว
ความมันเงา :
ใยฝ้ายโดยทั่วๆไปจะมีความมันน้อย ต้องเพิ่มความมันด้วยการตกแต่ง เช่น ผ้าฝ้ายเมอร์เซอร๋ไรซ์ ความเหนียว ฝ้ายจะมีความเหนียวปานกลาง คือจะเหนียวประมาณ 3.0-5.0 กรัมต่อเดนเยอร์ ตวามเหนียวจะเพิ่มขึ้นเมื่อเปียก ความเหนียวเมื่อเส้นใยเปียกจะมากกว่าความเหนียวเมื่อแห้งประมาณ 25-40 เปอร์เซ็นต์ ความยืดหยุ่นและการยืดได้ ในฝ้ายขะยืดหยุ่นได้ค่อนข้างต่ำ คือจะยืดได้ประมาณ 3-7 เปอร์เช็น บางครั้งอาจถึง 10 เปอร์เซ็นก่อนถึงจุดขาด การหดตัวกลับที่เดิม หากจับยึดอออกเพีง 2 เปอร์เซ็นจะหดตัวกลับเข้าที่เดิมได้ 74 เปอร์เซ็น และถ้าจับยึดออก 5 เปอร์เซ็นจะหดกลับที่เดิมได้เพีบง 50 เปอร์เซ็น
ความคืนตัว :
ใยฝ้ายและผ้าฝ้ายคืนตัวได้ต่ำ และยับง่ายมาก ความถ่วงจำเพาะ ใยฝ้ายมีความหนาแน่นและความท่วงจำเพาะ 1.54 กรัมลูกบาศก์เซนติเมตร
การดูดความชื้น :
ฝ้ายดูดความชื้นในบรรยากาศได้ 8.5 เปอร์เซ็น ถ้าความชื้นสัมพันธ์ในอากาศ 95 เปอร์เซ็น และ 100 เปอร์เซ็น ฝ้ายจะดูดความชื้นไว้ได้ 15 เปอร์เซ็น และ 25-27 เปอร์เซ็น ตามลำดับ ผ้าฝ้าย สามารถดูดซับความชึ้นจากเหงื่อและน้ำได้ดีและสามารถ ระบายความชื้นได้เร็ว
ความคงรูป :
โดยปกติผ้าฝ้ายจะคงรูป ไม่ยืด และหดตัวมากนัก ความยืดและหดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต เป็นผืนผ้าด้วย ถ้าต้องการไม่ให้หด จะต้องทำการตกแต่งให้ทนหด เช่น ผ้าซันฟอไรซ์
การผลิตไฟและการทนต่อความร้อน :
ผ้าติดไฟง่ายและเร็ว เมื่อเผาจะมีกลิ่นเหมือนเผากระดาษ มีขี้เถ้าเหลือน้อย และมีสีเท่านุ่ม ผ้าฝ้ายถ้าถูกความร้อนแห้งที่มีความร้อนสูงกว่า 149 องศาเซลเซียสนานๆ จะทำให้ใยเสื่อมคุณภาพ แต่จะไหม้เกรียมถ้ารีดด้วยความร้อนสูงมากและการตกแต่ง เช่นการลงแป้ง ซึ่งจะช่วยให้ไหม้เกรียมง่ายขึ้น
สมบัติทางเคมี
ผลต่อด่าง :
ใยฝ้ายจะทนต่อด่างได้ดี ซึ่งในกระบวนการผลิตผ้าฝ้ายต้องใช้ด่างมาก เช่น การฟอกขาวและการชุบมัน สารซักฟอกและการฟอกขาวทุกชนิดล้วนมีส่วนประกอบชองด่างทั้งสิ้น จึงสามารถใช้สารเหล่านี้กับฝ้ายได้อย่างปลอดภัย ผลต่อกรดฝ้ายจะไม่ทนต่อกรด โดยเฉพาะกรดบางชนิดเข้มข้นประเภทกรดของโลหะ เพราะกรดจะทำลายเส้นใยฝ้าย ผลต่อสารละลายอินทรีย์ ฝ้ายจะทนต่อสารละลายอินทรีย์ที่ใช้ในการซักรีดในประจำวันและการลบลอยเปรื้อนได้อย่างดีแต่จะละลายใน สารประกอบบางชนิด เช่น คิวปราโมเนียมไฮดรอกไซด์ และคิวปรีเอทิลีนไดอะมีน (cupriethylenediamine) เราจึงใช้สารเคมี 2 ชนิดนี้ในการวิเคราะห์เส้นใยฝ้ายได้ ผลต่อแสงแดดและปัจจัยอื่นๆผ้าฝ้ายถ้าตากแดดจัดไว้นานเกินไป จะทำให้กลายเป็นสีเหลืองและเสื่อมคุณภาพได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชื้น และการย้อมสีวัด (vat)และสีซัลเฟอร์บางชนิด
การเก็บรักษา :
ควรเก็บผ้าฝ้ายไว้ในที่แห้งและมีแสงสว่างน้อย ซึ่งจะทำให้ผ้าอยู่ในสภาพเดิมได้นาน อย่าเก็บผ้าไว้ในที่อับชื้นและอุ่น เพราะผ้าฝ้ายจะขึ้นราง่าย ซึ่งราจะทำให้ผ้าเสื่อมคุณภาพและขาดเร็วกว่าปกติ
ประโยชน์ใช้สอยของผ้าฝ้าย :
ผ้าฝ้ายใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางมากและมีราคาไม่แพง ซึ่งสามารถใช้เป็นเสื้อผ้านุ่งหุ้มได้ทุกชนิด นอกจากนี้ยังเป็นผ้าที่ใช้ในบ้าน ผ้าตกแต่งบ้าน และผ้าที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมได้อย่างดีอีกด้วย
ทั้งนี้เนื่องจากผ้าฝ้าย มีคุณสมบัติดีหลายประการ เช่น สวมใส่สบาย ไม่ร้อย ซักรีดง่าย และดูดซึมน้ำ
และความชื้นได้ดี นอกจากนั้นผ้าฝ้าย ยังย้อมสีง่าย สีไม่ตกและทนถ้าย้อมสีได้ถูกวิธี ผ้าฝ้ายจะทนต่อความร้อนและระบายความร้อนได้ดีอีกด้วย การตกแต่งผ้าฝ้ายที่นิยมทำกัน ได้แก่ การทำการหด ทำให้ทนยับ และซักและวไม่ต้องรีด เป็นต้น ความน่าใช้ และสวมใส่สบายเป็นคุณสมบัติเด่นของผ้าฝ้าย
- ข้อมูลเชิงลึกของผ้า TC -
ผ้าฝ้ายผสมกับผ้าใยสังเคาะห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าผ้า T/C หรือ TC
ไนลอน เป็น ใยโพลีอะไมค์ (Nylon polyamide fibers) จัดเป็นใยสังเคราะห์จากสารเคมี
โดยเป็นสารประกอบระหว่าง กรดไดเบสิก (Ddibasic acid) และโพลีไฮดริกแอลกอฮอล์
(Polyhydric alcohol) ซึ่งเมื่อโดนความร้อนจะรวมตัวกันเป็นโพลีเอสเตอร์
คำว่า " ไนลอน " มักใช้เรียกชื่อใยสังเคราะห์จากโมเลกุลใหญ่ของอะไมด์ และมีคุณสมบัติทำเป็นเส้นใยได้ ไนลอนผลิตด้วยกระบวนการทางเคมีโดยการรวมตัวของเบนซิน ฟีนอล ไฮโดรเจน แอมโมเนีย และ โซดาไฟ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้มาจากถ่าน แก๊ส น้ำทะเล และอื่น ๆ มาผสมกันก็จะเปลี่ยนรูปเป็นโมเลกุลของเกลือไนลอน
โยงต่อกัน ภายใต้อุณหภูมิที่กำหนด
สมบัติทางกายภาพ
ความเหนียว :
ความเหนียวเป็นคุณสมบัติเด่นข้อหนึ่งของไนลอนคือมีความเหนียวมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งไนลอนชนิดเหนียวมาก
( high tenacity nylon ) แม้ไนลอนชนิดธรรมดาก็ยังมีความเหนียมมากกว่าใยธรรมชาติชนิดอื่น ๆ ความเหนียวของไนลอนชนิดธรรมดาจะเหนียวประมาณ 4.6-5.8 กรัมต่อเดนเยอร์ ไนลอนชนิดเหนียวมากจะมีความเหนียว ประมาณ 8.8 กรัมต่อเดนเยอร์ เมื่อเปียกความเหนียวจะคงเดิม หรืออาจจะลดลงเล็กน้อย
ความยืดหยุ่นและความยืดได้ :
ไนลอนสามารถยืดหยุ่นได้ดีและยืดได้มาก และผ้าไนลอนจะคงรูปได้ดีเยี่ยม และสามารถคืนตัวได้ดี และไม่ยับง่าย การผลิตเนื้อผ้าต่าง ๆ จึงนิยมผสมไนลอนเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อผ้าเพื่อให้คงรูปได้นาน
การดูดฅึมน้ำและความชื้นต่าง ๆ :
เมื่อเทียบกับผ้าฝ้าย (Cotton) แล้วไนลอนจะดูดซึมความชื้นได้ต่ำว่าผ้าฝ้าย ไนลอนจะสามารถดูดความชื้น ได้ประมาณ 4.0-4.5 เปอร์เซ็นต์ ในบรรยากาศที่มีความชื้นสูง ไนลอนจะดูดความความชื้นไว้ได้อย่างมาก 8 % การที่ดูดความชื้นได้น้อยกว่ามีผลดี ตรงที่สามารถย้อมสีได้ดีกว่า เนื่องจากไนลอนดูดความชื้นได้น้อย
จึงมีผลทำให้ ไนลอนแห้งเร็วเมื่อซัก แต่มีผลเสียในด้านการเกิดไฟฟ้าสถิตง่าย ทำให้สวมใส่ไม่สบายเท่าผ้าฝ้าย
ความคงรูป :
เนื่องจากไนลอนไวต่อความร้อน หรือเป็นใยสังเคราะห์ประเภทเทอร์โมพลาสติก จึงสามารถใช้ความร้อน
จับจีบถาวรได้ และคงรูปได้นาน ทนยับ และรีดเรียบได้ง่าย
การทนต่อความร้อน :
ไนลอนจะละลายที่ความร้อนประมาณ 250 องศาเซลเซียส ไนลอนทุก ๆ ชนิดจะทนความร้อนที่ระดับ 149 องศาเซลเซียส ได้อย่างดี โดยไม่เสียหายแต่ประการใด แต่ถ้าความร้อนสูงมากกว่านี้ จะทำให้เส้นใยของไนลอน อ่อนตัวลงและลดความเหนียวลงอย่างรวดเร็ว ดังนี้จึงควรปรับอุณหภูมิ
สำหรับรีดผ้าที่ความร้อนระหว่าง 149 องศา
สมบัติทางเคมี
ผลต่อด่าง :
ใยสังเคราะห์ไนลอนค่อนข้างจะทนต่อด่างได้ดี หรือไม่ค่อยเกิดปฎิกิริยาเปลี่ยนแปลงมากนักกับด่าง สารซักฟอกและการฟอกขาวทุกชนิดล้วนมีส่วนประกอบชองด่างทั้งสิ้น จึงสามารถใช้สารเหล่านี้กับฝ้ายได้อย่างปลอดภัย
ผลต่อกรด :
จำพวกกรดของโลหะ เช่นกรดเกลือ กรดไนตริก และกรดกำมะถัน จะเป็นตัวทำลายต่อไนลอนได้ อย่างรวดเร็ว แม้แต่สารละลายของกรดเกลืออย่างเจือจางก็ยังสามารถทำลายเส้นใยไลนอล กรดอินทรีย์ ไอของกรด ต่าง ๆ ในอากาศตามย่านอุตสาหกรรมก็ทำให้ไนลอนเสื่อมคุณภาพได้เช่นกัน
ปฎิกิริยาต่อสารละลายอินทรีย์ :
สารละลายอินทรีย์ส่วนใหญ่แทบจะไม่ทำให้ไนลอนเสียหายมากนัก น้ำยาฟีนอลเมตาครีซอล และกรดฟอร์มิกจะละลายไนลอน แต่สารละลายลบรอบเปี้อนและน้ำยาซักแห้งจะไม่ทำลายไนลอน
ปฏิกิริยาต่อแสงแดด และอายุการใช้งาน :
ไนลอนไม่ต้านทานแสงแดดจัดที่ส่องถูกตรง ๆ เป็นเวลานาน แสงแดดจะทำให้ไนลอนเสื่อมคุณภาพ (ไม่เหมาะสมกับการสวมใส่ทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน ๆ ) และลดความเหนียว
ไนลอนสีลดใสจะต้านทาน แสงแดดได้ดีกว่าไนลอนสีเข้มและทึบมืด การย้อมสีพิเศษจะช่วยให้ไนลอนทนต่อแสงแดดได้ดีขึ้น
ผ้าที่ทอจากเส้นใยไนลอนจะมีอายุการใช้งานได้นานกว่าผ้าฝ้าย ถ้าเป็นการเก็บรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ไนลอนเมื่อทอเป็นผ้าชิ้นแล้วผ้าจะมีเนื้อน่าจับจ้อง ปรับสภาพโค้งได้ดี และต้านทานการขัดสีได้ดีเยี่ยม
สบู่ ผงซักฟอก และสารฟอกขาวที่ใช้ทำความสะอาดเสื้อผ้าประจำวันไม่ทำลายใยไนลอน
ความทนทานของเนื้อผ้าและเส้นใย :
ตัวแมลงและมอดไม่กินผ้าไนลอนแต่ถ้าพับเก็บไว้นานๆ แมลงต่างๆ และมดอาจกัดผ้าไนลอนได้
โดยเฉพาะตามรอยทับ ผ้าไนลอนที่ได้รับการตกแต่งแป้งจะขึ้นราได้ แต่ราจะไม่ทำลายถึงเนื้อผ้าไนลอน ใยไนลอนไม่ทำให้เกิดแบคทีเรียและเชื้อรา ขึ้นมาเองในเนื้อผ้า
การนำไปใช้ :
ไนลอนมีประโยชน์มาก และได้ถูกนำม่ใช้อย่างกว้างชวาง ซึ่งจะเป็นเส้นใยที่ได้รับเลือกเป็นผ้าตกแต่งบ้าน ซึ่งใช้ทำพรมมากที่สุด รองลงมาใช้เป็นผ้าตัดชุดชั้นใน ถุงเท้า ชุดกีฬา ชุดนอน และใช้ในงานอุตสาหกรรม
คือ ด้าย เชือก เต้นท์ และทำยางรถยนต์ สำหรับผ้าตัดชุดต่างๆ นิยมทอผสมกับใยอื่น
เพื่อเพิ่มคุณสมบัติอันได้แก่ ความเหนียว ความคงรูป ความยืดหยุ่น และความคงทน ต่อการเสียดสี
ให้กับผ้าใยผสมนั้นๆ
ผ้าไนลอนนั้นสามารถซักง่ายและแห้งเร็ว สามารถซักด้วยเครื่องซักผ้าได้ อบให้แห้งด้วยเครื่องอบผ้าก็ได้ ใช้ความร้อนได้ทุกระดับ บางกรณีไม่จำเป็นต้องรีดเพียงซักและอบให้แห้งก็เป็นได้ ผ้าไนลอนสามารถฟอกขาวได้สบู่และสารซักฟอกธรรมดาไม่เป็นอันตรายต่อไนลอน
ปัญหาของการซักผ้าไนลอน :
ที่ควรระวังคือผ้าไนลอนจะดูดสีและสิ่งสกปรกจากน้ำที่ซักเอาไว้ในเนื้อผ้าถ้าซักรวมกับผ้าสีหรือผ้าสกปรก จะทำให้ผ้าไนลอนสีขาวมีสีดำคล้ำลง หรืออาจเปลี่ยนสีของผงซักฟอกหรือน้ำที่ซัก จึงควรแยกผ้าสีขาวต่างหาก และล้างผ้าให้สะอาด ด้วยน้ำสะอาด ไนลอน 6,6 ชนิดพิเศษ เช่น ดูปองต์ชนิด91 ได้เติมสารฟลูออเรสลงไปในขณะที่ปั่นเส้นใย เพื่อช่วยทำให้ผ้าไนลอนดูขาวอยู่เสมอเมื่อใช้ เทคนิคการย้อมสีและการใช้ย้อมสมัยใหม่ช่วยทำให้ผ้าไนลอนน่าใช้ยิ่งชึ้น การเกิดเป็นเม็ดหรือขุยบนผิวผ้า
(pilling) เป็นปัญหาสำคัญอีกประการ หนึ่งของผ้าไนลอน ซึ่งจะเป็นมากกับผ้าไนลอนที่ทอจากใยชนิดสั้น เนื่องจากไนลอนดูดซึมความชื้นได้ต่ำ จึงต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างการทอให้ผ้ามีช่องให้ลมผ่านได้ เพื่อจะได้ส่วมใส่สะบาย เช่น ผลิตผ้าด้วยก้วยการถักนิดหรือจะทำการตกแต่งให้พื้นผิวของผ้าดูดซึมความชื้นได้ดีขึ้น ระบายความร้อนและความขึ้นได้ดีขึ้นด้วยการพ่นสาร อื่นทับสารอื่นทับด้ายไนลอนก่อนนำไปทอเป็นผ้า
การนำผ้าไนลอนมาตกแต่งให้อยู่ตัวด้วยความร้อน จะทำให้ได้ผ้าไนลอนหลายรูปแบบ เช่น การอัดดอก การทำผ้าให้ย่นด้วยน้ำยาเคมี หรืออาจใช้สารโลหะ เช่น ทองแดงหรืออะลูมิเนียมพิมพ์ลายลงบนผ้า ก็จะได้ผ้าที่มีลวดลายแปลกออกไป และจะทำให้ติดหรืออยู่ตัวอย่างถาวร โดยใช้ความร้อนช่วย
- การซักจะซักแห้งหรือซักน้ำก็ได้ ขึ้นอยู่กับสีที่ใช้ย้อม และการตบแต่ง การตัดเย็บและแบบของเสื้อผ้า
- คงรูปได้ดี
- ทนต่อด่าง - เกิดไฟฟ้าสถิตง่าย
- ไม่ทนต่อกรดอย่างเข้มข้น - ผ้าไนลอนสีขาว ควรฟอกขาวด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือโซเดียมเพอร์บอเรตหรือสารฟอกขาวคลอรีน
- ทนต่อรา และแมลงไม่ทำลายเนื้อผ้า - ดูดซึมสิ่งสกปรกและเหงื่อไคลได้ง่าย
- เพิ่มความเหนียวเมื่อเปียก - เวลาซักผ้าไนลอนสีขาวจะดูด สิ่งสกปรกจากน้ำที่ซักเข้าไว้ในเนื้อผ้าได้ง่าย
- ต้านทานการขัดสีได้ดีเยี่ยม
- ซักง่ายและแห้งเร็ว
- เส้นใยอาจหลุด เนื้อผ้าแยกได้ง่าย ถ้าผ้านั้นทอด้วยใยยาว
- ใช้ความร้อนอัดกลีบถาวรได้ - จะละลายแทนการไหม้ไฟ
- ดูดซึมความร้อนไม่มากนัก - ผ้าเนื้อบางหรือเป็นขนจะติดไฟง่าย
- สามารถผสมกับใยชนิดอื่น ๆ ได้ดีเพื่อเพิ่มความเหนียว - ผ้าที่ทอจากใยชนิดสั้นผ้าจะเกิดเป็นเม็ดเ
ป็นขุยบนผิวผ้า
- ไวต่อความร้อน
ข้อดีของเส้นใยไนลอน | ข้อเสียของเส้นใยไนลอน | คุณสมบัติอื่น ๆ |
- เหนียวมาก |
- ไม่ทนต่อแสงแดด ชนิดสีสดใสทนกว่าสีทึบสีโทนเข้ม |
- การซักจะซักแห้งหรือซักน้ำก็ได้ ขึ้นอยู่กับสีที่ใช้ย้อม และการตบแต่ง การตัดเย็บและแบบขอลเสื้อผ้า |
- คงรูปได้ดี - ทนต่อด่าง |
- เกิดไฟฟ้าสถิตง่าย - ไม่ทนต่อกรดอย่างเข้มข้น |
- ผ้าไนลอนสีขาว ควรฟอกขาวด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือโซเดียมเพอร์บอเรต |
- ทนต่อรา และแมลงไม่ทำลายเนื้อผ้า | - ดูดซึมสิ่งสกปรกและเหงื่อไคลได้ง่าย | |
- เพิ่มความเหนียวเมื่อเปียก |
- เวลาซักผ้าไนลอนสีขาวจะดูด สิ่งสกปรกจากน้ำที่ซักเข้าไว้ในเนื้อผ้าได้ง่าย |
|
- ต้านทานการขัดสีได้ดีเยี่ยม - ซักง่ายและแห้งเร็ว |
- เส้นใยอาจหลุด เนื้อผ้าแยกได้ง่าย ถ้าผ้านั้นทอด้วยใยยาว | |
- ใช้ความร้อนอัดกลีบถาวรได้ | - จะละลายแทนการไหม้ไฟ | |
- ดูดซึมความร้อนไม่มากนัก | - ผ้าเนื้อบางหรือเป็นขนจะติดไฟง่าย | |
- สามารถผสมกับใยชนิดอื่น ๆ ได้ดีเพื่อเพิ่มความเหนียว | -ผ้าที่ทอจากใยชนิดสั้นผ้าจะเกิดเป็นเม็ด เป็นขุยบนผิวผ้า |
|
- ไวต่อความร้อน |
Credit : www.mtec.or.th
www.gwfash.com
couple-club